- กรกฎาคม 30, 2020
แก้ไขออฟฟิศซินโดรมให้ตรงจุด โรคฮิตน่ารำคาญของคนวัยทำงาน
ออฟฟิศซินโดรมเป็นอาการปวดเมื่อยที่เกิดตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เรายังสามารถเรียกอาการเหล่านี้ว่า “อาการบาดเจ็บจากการทำงาน” ได้เช่นกัน โดยผู้ที่เป็นส่วนมากนั้นจะอยู่ในวัยทำงาน ซึ่งอาการบาดเจ็บจะเกิดจากพังผืดและเส้นประสาท กล้ามเนื้ออักเสบ หรือในอาการหนักที่สุดอาจจะเกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ โดยอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่ทำซ้ำ ๆ เป็นประจำในขณะที่ทำงาน แต่ก่อนที่จะตามหาว่าออฟฟิศซินโดรมรักษาที่ไหน ผู้มีอาการต้องทราบก่อนว่าอาการส่วนใหญ่นั้น จะเกิดขึ้นกับร่างกาย 5 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่
- ปวดหลังส่วนบน (สะบักด้านใน, สะบักด้านนอก, หลังไหล่)
- ปวดหลังส่วนล่าง
- ปวดคอบ่า รักษาหายยาก และปวดขึ้นศีรษะ
- ปวดข้อศอก
- ปวดข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วล็อก
นอกจากอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว อีกหนึ่งอาการที่อยู่ในกลุ่มออฟฟิศซินโดรมนั่นก็คือ ตาพร่ามัว มีอาการเวียนหัวเนื่องจากมีการจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แต่คนส่วนใหญ่ที่เป็นออฟฟิศซินโดรมมักมีอาการปวด คอ บ่า และไหล่เป็นหลัก
สาเหตุของอาการออฟฟิศซินโดรมที่ทำให้ปวดบริเวณคอ บ่า และไหล่
คุณเคยเป็นหรือไม่? ขณะนั่งทำงาน หรือนั่งเล่นโทรศัพท์ จะมีอาการปวด คอ บ่า และไหล่ อาการเหล่านี้เกิดจากการอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เป็นการฝืนร่างกาย เช่น การงอคอไปข้างหน้า การก้มหน้า การอยู่ในท่าห่อไหล่ และนั่งหลังงอ พฤติกรรมแบบนี้ถ้าทำอยู่เพียงระยะเวลาไม่นานจะไม่ค่อยมีปัญหา และไม่มีอาการปวดเมื่อย แต่ถ้าหากอยู่ในท่าทางดังกล่าวเป็นระยะเวลานานมากต่อวัน กล้ามเนื้อจะเริ่มมีความตึงตัวและเกร็งตัวมากขึ้น และมีโอกาสที่จะขมวดเป็นปมไปกดทับเส้นเลือด ทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามมา รวมไปถึงจะทำให้กล้ามเนื้อไวต่อความรู้สึกมากยิ่งขึ้น เพียงแค่กดหรือสัมผัสเบา ๆ ก็จะรู้สึกเจ็บปวดได้ ถ้าหากปล่อยไว้จนมีอาการเป็นระยะเวลานาน จะเสี่ยงเกิดการเรื้อรัง ทำให้อาการปวดคอบ่า รักษาได้ยากมากขึ้น อาจจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทได้ด้วยเช่นเดียวกัน
แนวทางแก้ไขและบรรเทาอาการปวดคอบ่า รักษาอย่างไรดี
สำหรับคนที่เป็นออฟฟิศซินโดรมและมีอาการปวดคอบ่า รักษาได้หลายวิธี โดยเริ่มต้นง่าย ๆ จากการปรับท่าทางในการทำงาน ให้นั่งหลังตรง คอยืดตรง และไม่ห่อไหล่ รวมทั้งต้องมีการยืดเหยียด และการนวดคลายเส้นบริเวณที่มีอาการปวด ถ้าหากมีความจำเป็นต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ก็ควรที่จะเปลี่ยนอิริยาบถเป็นประจำ ทำการลุกขึ้นเดิน ยืดเหยียดร่างกายบ้าง อาจจะทำทุก ๆ 2 ชั่วโมงก็ได้ เพื่อป้องกันอาการกล้ามเนื้อตึง อีกทั้งยังช่วยคลายความเครียดจากการทำงานได้ดีด้วย
คุณรู้หรือไม่ว่า เมื่อมีอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรมเข้ามารบกวน จะทำให้สภาพจิตใจย่ำแย่ไปด้วย ยิ่งหากเป็นอาการเรื้อรัง ยิ่งต้องยืดเหยียดให้บ่อยมากกว่าปกติ ส่วนการเลือกรับประทานยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นเช่นกัน และควรรีบเข้ารับการวินิจฉัยเพื่อรักษา หรือเข้ารักษาที่ศูนย์กายภาพบำบัด
ตัวอย่างท่ายืดเหยียดเพื่อป้องกันการปวดบ่า คอ และไหล่
- ตั้งคอตรง ใช้มือจับบริเวณศีรษะด้านตรงข้าม และดึงศีรษะเข้าหาหัวไหล่ ค้างไว้ประมาณ 15 ถึง 30 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อ 1 เซต
2. ตั้งคอตรง ใช้มือกดด้านหลังศีรษะเข้าหาบริเวณหน้าอก ค้างไว้ประมาณ 15 ถึง 30 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อ 1 เซต
3. อยู่ในท่าตัวตรง ยักไหล่สองข้างขึ้นลงพร้อมกัน หลังจากนั้นดึงสะบักทั้งสองข้างเข้าหากัน ท่านี้จะช่วยลดอาการปวดบริเวณหัวไหล่ ทำครั้งละ 10 ครั้งต่อ 1 เซต
4. ชูมือขึ้นสองข้างวางบนกำแพง ดันและโน้มตัวไปข้างหน้าจนรู้สึกกล้ามเนื้อตึง ค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อ 1 เซต ท่านี้จะช่วยยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณหัวไหล่ หน้าอก รวมถึงสะบักได้ดี
ทั้งนี้หากอาการของคุณเริ่มรุนแรงขึ้น และยังไม่รู้ว่าออฟฟิศซินโดรมรักษาที่ไหนได้บ้าง ทางออกที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งยาหรือการผ่าตัดคือ การเข้ารับกายภาพบำบัดโดยนักกายภาพที่ชำนาญ จะทำให้อาการต่าง ๆ ทุเลาลงได้เร็ว รวมถึงจะได้รับคำแนะนำในการยืดเหยียดอย่างถูกวิธีกลับมาทำร่วมด้วย ซึ่งเป็นการแก้ไขที่สาเหตุ และจะส่งผลให้ดีขึ้นได้ในระยะยาว โดยเฉพาะที่กายภาพบำบัดบางนาที่มีนักกายภาพบำบัดที่มีความชำนาญ ดูแลรักษาคนไข้โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย พร้อมติดตามอาการของคนไข้และให้คำปรึกษาเพื่อให้คนไข้สามารถดูแลตัวเองจากอาการออฟฟิศซินโดรมให้หายได้
จะเห็นได้ว่าอาการออฟฟิศซินโดรมมีสาเหตุจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการทำงาน ซึ่งอาการส่วนใหญ่ที่เป็นก็คืออาการปวดบริเวณต้นคอ บ่า และไหล่ เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานหนักในระหว่างทำงาน ซึ่งอาการปวดคอบ่า รักษาหายได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับท่านั่งทำงานให้เหมาะสม รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง