- มกราคม 30, 2023
รองช้ำหายได้ สาเหตุและวิธีแก้ไขให้จบปัญหาและควรทรมานที่ทำได้จริง
อาการเจ็บฝ่าเท้าในทุกก้าวที่เดิน เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นรองช้ำหรือเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ซึ่งอาการนี้เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับคนที่ใช้งานฝ่าเท้าเป็นประจำ อาการเหล่านี้ถึงจะไม่ร้ายแรงจนถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดแต่ก็สร้างความทรมานและเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตอยู่ไม่น้อย
สาเหตุของอาการรองช้ำ
รองช้ำหรืออีกชื่อหนึ่งคือ “เอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบ” เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นจากการใช้งานฝ่าเท้าซ้ำ ๆ เช่น การวิ่งหรือเดินในระยะทางที่ไกล การเกร็งเท้าจากการใส่ส้นสูง จนส่งผลให้มีการอักเสบของกล้ามเนื้อและเกิดพังผืดบริเวณฝ่าเท้า ซึ่งจะทำให้คนไข้รู้สึกเจ็บฝ่าเท้าทุกครั้งเมื่อมีการลงน้ำหนัก แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นหลังจากที่ได้ลดการลงน้ำหนักไประยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากกล้ามเนื้อมีการคลายตัว ซึ่งหากผู้ป่วยหยุดใช้งานฝ่าเท้าเพียงระยะเวลาสั้น ๆ โดยไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง อาการเจ็บฝ่าเท้าเท้าก็จะกลับมาเป็นอีกได้ รองช้ำจึงเป็นหนึ่งในโรครักษาให้หายขาดได้ยาก เนื่องจากในชีวิตประจำวันของเราต้องใช้ฝ่าเท้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การวิ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลฝ่าเท้าเป็นประจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้อาการนั้นหายได้
กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรครองช้ำได้ง่ายกว่าปกติ
- ผู้สูงอายุ
2. คนที่มีน้ำหนักมาก
3. นักกีฬาวิ่ง
4. คนเดินทางไกล
5. คนที่ใส่ส้นสูง และรองเท้าพื้นแข็ง
6. คนอุ้งเท้าสูง
การรักษาอาการเจ็บฝ่าเท้าจากโรครองช้ำ
การรักษาอาการเจ็บฝ่าเท้าสามารถใช้วิธีกายภาพบำบัดได้ เพราะผู้ที่มีการอักเสบบริเวณฝ่าเท้ามักจะมีอาการตึงบริเวณเอ็นร้อยหวายและกล้ามเนื้อน่องร่วมด้วย ดังนั้นการยืดเหยียดและการนวดจึงต้องมีความสัมพันธ์กัน ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องยืดกล้ามเนื้อน่องและกล้ามเนื้อเอ็นร้อยหวายเพื่อที่จะลดอาการรองช้ำร่วมกับการนวดเพื่อลดอาการ
ท่าบริหารและท่ายืดเหยียด แนะนำโดยกายภาพบางนา เพื่อลดอาการตึง
- ท่ายืนดันกำแพง ให้ผู้ป่วยยืดแขนไปข้างหน้าทั้งสองข้างเพื่อดันกำแพงไว้ พร้อมกับก้าวเท้าข้างที่มีอาการไปข้างหลัง หลังจากนั้นย่อตัวลงให้รู้สึกตึงที่บริเวณน่อง ทำค้างไว้ประมาณ 15 ถึง 30 วินาที ทั้งหมด 10 ครั้งต่อ 1 เซต
- ยืนเขย่งด้วยปลายเท้า ให้ผู้ป่วยยืนเขย่งปลายเท้าทั้งสองข้างพร้อมกัน ทำค้างไว้ครั้งละประมาณ 15 ถึง 30 วินาที ท่านี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของข้อเท้าและช่วยลดอาการตึงบริเวณฝ่าเท้า
- ยืนบนกระดานองศา ให้ผู้ป่วยใช้เท้าทั้งสองข้างยืนบนกระดานองศา ค้างไว้ประมาณ 30 วินาที การยืนบนกระดาษองศาจะช่วยยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย และเพิ่มความแข็งแรงของข้อเท้า ถ้าหากไม่มีกระดานองศาให้ใช้ขอบบันไดเป็นฐานและยืนกระดกปลายเท้าประมาณ 45 องศา ก็ช่วยได้เช่นเดียวกัน
ในผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง สามารถเดินทางเข้ามาพบนักกายภาพเพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธีได้ โดยที่ศูนย์กายภาพบำบัดบางนามีวิธีทำกายภาพพร้อมเครื่องมือทันสมัย ที่จะช่วยลดอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อและลดอาการบาดเจ็บใต้ฝ่าเท้าได้ นักกายภาพของเราทุกท่านมีความชำนาญและพร้อมที่จะช่วยเหลือให้การดูแลคนไข้จนอาการรองช้ำหายดี และแนะแนวทางในการดูแลตัวเองเพื่อลดปัญหาอาการเจ็บฝ่าเท้าให้กับคนไข้ จนสามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้เองทุกคน