โรคนิ้วล็อกเกิดจากอะไร ความทรมานที่หลายคนกำลังหาทางรักษา

โรคนิ้วล็อกเกิดจากอะไร ความทรมานที่หลายคนกำลังหาทางรักษา

นิ้วล็อกเป็นอาการปวดบริเวณโคนนิ้วและฝ่ามือ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัวว่าเริ่มเกิดอาการเหล่านี้ จนกระทั่งมีอาการหนักขึ้น รู้สึกเหยียดนิ้วและงอนิ้วได้ลำบาก มักเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่ละคนก็จะมีการเจ็บปวดที่แตกต่างกันออกไป บางคนเป็นเพียง 1 นิ้ว บางคนเป็นหลายนิ้ว รวมถึงอาการเจ็บปวดก็จะมีไม่เท่ากัน ถ้าหากว่าปวดและไม่สามารถงอหรือเหยียดนิ้วได้เลย ก็อาจจะจำเป็นต้องฉีดยาเพื่อทำการรักษา หรือร้ายแรงสุดก็ถึงขั้นผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับโรคประจําตัวอื่น ๆ ด้วย

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อก

อาการนิ้วล็อกเป็นอาการที่เกิดจากการบาดเจ็บซ้ำ ๆ จากการใช้งาน เช่น การหยิบจับอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยการกำมือ ซึ่งส่งผลให้เส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วมีการอักเสบและมีอาการบวม ทำให้มีอาการกำมือเหยียดมือแล้วปวด และถ้าหากเป็นถึงขั้นเรื้อรังจะทำให้ไม่สามารถเหยียดนิ้วได้เลย ซึ่งอาการนิ้วล็อกยังมีความสัมพันธ์ระหว่างพังผืด และเส้นประสาทบริเวณฝ่ามือ และเมื่อมีความสัมพันธ์กับอาการบาดเจ็บที่ฝ่ามือจึงจำเป็นต้องตรวจหาโรคต่าง ๆ ร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน และโรคเกาต์ เพราะว่าโรคเหล่านี้ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดภาวะกำมือเหยียดมือแล้วปวดได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการรักษาก็จะยากขึ้นตามอาการ แต่สำหรับอาการนิ้วล็อกจากการใช้งาน จะแบ่งเป็นทั้งหมด 4 ขั้น ดังนี้

  1. เจ็บบริเวณโคนนิ้วแต่ยังสามารถงอและเหยียดนิ้วได้ตามปกติ
  2. มีอาการเจ็บ รวมถึงมีก้อนบริเวณโคนนิ้ว และมีเสียงขณะที่งอและเหยียดนิ้ว
  3. นิ้วเริ่มมีการล็อกแต่สามารถเหยียดตัวเองได้ รวมถึงมีเสียง
  4. เมื่อมีการงอนิ้วแล้วไม่สามารถเหยียดนิ้วด้วยตัวเองได้

รักษานิ้วล็อกโดยการทำกายภาพ ไม่ต้องผ่าตัด

ในปัจจุบันการรักษานิ้วล็อกสามารถใช้วิธีทำกายภาพได้ ซึ่งจะมีวิธีการรักษาโดยที่ไม่ต้องใช้การผ่าตัด คือ

  1. กรณีผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการไม่มาก สามารถกำและเหยียดนิ้วได้ มักจะได้รับคำแนะนำให้พักการใช้งานและใช้การพันเทปในบริเวณที่มีอาการปวด เมื่ออาการเริ่มดีขึ้นจึงให้แช่น้ำอุ่นประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นให้เริ่มทำการยืดเหยียดนิ้ว และนวดบริเวณที่ปวด
  2. คนที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ จะใช้เวลารักษานานกว่าคนทั่วไป ถ้าหากมีเริ่มมีอาการกำมือและเหยียดมือแล้วเจ็บควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
  3. ในผู้ที่มีอาการเรื้อรัง การฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบาดเจ็บก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการแก้ปัญหานิ้วล็อกซึ่งจะลดอาการได้อย่างรวดเร็ว

ผู้ป่วยที่มีอาการนิ้วล็อก ปวด และมีเสียงในข้อนิ้วเมื่อกำมือและเหยียดมือ อย่าปล่อยให้อาการรุนแรง สามารถขอคำปรึกษาได้ที่กายภาพบางนาเพื่อเข้ารับการประเมินอาการและทำการรักษาโดยใช้วิธีกายภาพบำบัดได้ทันที ที่นี่มีนักกายภาพที่พร้อมจะดูแลอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากการเป็นโรคนิ้วล็อก พร้อมคำแนะนำเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก